วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หลักสูตรแกนกลาง2551

หลักสูตรแกนกลาง2551
        ด้วยทาง สพฐ. ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในบางกลุ่มสาระ และ
ได้มีคำสั่งเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2560 ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์
และสาระภูมิศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)แทนซึ่งทางบริษัทฯก็ได้จัดทำเอกสาร “ทำความเข้าใจ หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)” ขึ้นมา เพื่อช่วยเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานและ
ตัวชี้วัดที่ปรับปรุงใหม่ ให้ครูอาจารย์บุคลากรทางการศึกษานำไปใช้ประโยชน์เป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตร
ของสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอนต่อไป

        ทั้งนี้แนวคิดในการจัดทำยังคงมุ่งเน้นให้สื่อสารทำความเข้าใจ มองเห็นภาพรวม และอ่านทำความเข้าใจได้ง่าย
โดยสรุปย่อมาจากหลักสูตรเต็มเล่มและ PowerPoint ประกอบการประชุมสร้างความเข้าใจหลักสูตรฯ ของสำนักวิชาการ

และมาตรฐานการศึกษา อ่านเพิ่มเติม

การเรียนรู้ในศตวรรษที่21

                                         การเรียนรู้ในศตวรรษที่21
     ปัจจุบันโลกแห่งการศึกษาได้ก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบการเรียนรู้ก็ต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยเด็กนักเรียนจะมีการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย มองเห็นปัญหาเป็นโจทย์ให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ไข ซึ่งทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 คือ 3R8C โดยมีรายละเอียดดังนี้
 อย่างแรกคือ 3R คือทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อผู้เรียนทุกคน มีดังนี้
             1. Reading คือ สามารถอ่านออก
             2. (W)Riteing คือ สามารถเขียนได้
             3. (A)Rithmatic คือ มีทักษะในการคำนวณ
และอีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้ 3R คือ 8C ซึ่งเป็นทักษะต่างๆที่จำเป็นเช่นกัน ซึ่งทุกทักษะสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกวิชา มีดังนี้
  1. Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้
  2. Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม
  3. Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
  4. Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ
  5. Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ
  6. Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
  7. Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้
  8. Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย
       ทักษะทั้งหมดที่ได้กล่าวมาเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในยุคการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก ซึ่งมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในสมัยก่อน ทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติม 

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

    เมื่อเดือนมกราคม 2560 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นฉบับที่ 2 ของ พ.ร.บ. นี้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระบุเจตนารมณ์ของการแก้ไขส่วนหนึ่งว่า เดิม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยเฉพาะมาตรา 14 (1) มักถูกพ่วงไปฟ้องกับการกระทำผิดใด ๆ ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งที่มาตรานี้กำหนดให้ใช้กับการกระทำผิดในเรื่องฉ้อโกง หรือหลอกลวงกันทางออนไลน์
เพราะเดิมกฎหมายฉบับนี้ถูกนำมาใช้ตั้งข้อหากับคนที่โพสต์ด่าทอกันทางออนไลน์ รวมถึงดำเนินคดีต่อผู้แสดงความเห็นทางการเมือง เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน องค์กรภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ในลักษณะที่เรียกว่า ‘ฟ้องปิดปาก’ หรือ SLAPPs (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SLAPPs อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ

                                                               ประวัติส่วนตัว


ชื่อ: นางสาว แพรวา บุญแสงส่ง
ชื่อเล่น: ใบบัว
อายุ: 15 ปี
วันเกิด: เกิดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546
ส่วนสูง: 163 เซนติเมตร
น้ำหนัก: 41 กิโลกรัม 
ที่อยู่: 81/1 ม.5 ต.บางขันแตก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000
โรงเรียน: ถาวรานุกูล ม.4/6 สายศิลป์-จีน
อาหารที่ชอบ: ก๋วยเตี๋ยว ชีส
สัตว์เลี้ยง: กระต่าย 
กิจกรรมยามว่าง: ฟังเพลง-ร้องเพลง 
สีที่ชอบ: ฟ้า,ดำ,ขาว
สัตว์ที่ไม่ชอบ: กบ
เพลง: 90s
ภาพยนต์: แนวANIMATION 
ตัวการ์ตูนที่ชอบ: หมีคูมะ
วิชาที่ชอบ: จีน 
วิชาที่ไม่ชอบ: คณิตศาสตร์
มหาลัยที่อยากเข้า: ศิลปากร
อาชีพที่อยากทำในอนาคต: ครู 




วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิทยาการการคำนวณ

วิชาวิทยาการคำนวณ
  วิชาวิทยาการคำนวณเป็นวิชาที่จะมาแทนที่วิชาคอมพิวเตอร์ที่มีสอนอยู่ในปัจจุบัน และจะย้ายจากวิชาพื้นฐานการงานและเทคโนโลยี มาอยู่ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ มีกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถนำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ในสาขาวิชาต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ และวิชาอื่นๆ
ข้อดีของวิทยาการคำนวณ
   เป็นกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ โดยการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่จะได้รับหลังการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาการคำนวณ
   1.การคิดเชิงคำนวณ  เป็นการคิดแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ ใช้จินตนาการมองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม
   2.พื้นฐานดิจิทอล เป็นการสอนให้รู้จักวิธีการและเทคนิคต่างๆ โดยเฉพาะยุคไทยแลนด์ 4.0
   3.รู้เท่าทันสื่อข่าวสาร สามารถแยกแยะได้ว่า ข้อมูลไหนจริง ข้อมูลไหนเท็จ